Power Bank ความจุเท่าไหร่ ชาร์จกี่ชั่วโมงเต็ม มีสูตรคำนวณวิเคราะห์ค่าความจุไฟฟ้าของพาวเวอร์แบงค์ จะได้เลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์หรือแบตสำรองยี่ห้อต่างๆได้ถูกต้องและเหมาะสมกับโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์ไอทีของเรานั่นเอง
การเลือกซื้อ Power Bank ให้ดีมีคุณภาพได้ค่าความจุไฟฟ้าที่ต้องการ การคำนวณจะรู้ได้ว่า แบตเตอรี่สำรองก้อนนั้นมีความค่าจุไฟ้ฟ้าที่สามารถนำมาชาร์จโทรศัพท์มือถือเราได้กี่ครั้ง เยอะพอหรือไม่ จะรู้ว่า Power Bank ความจุ 5000mAh 8000mAh 10000mAh 13000mAh 20000mAh 30000mAh 50000mAh ชาร์จได้กี่ชั่วโมงหรือขนาดความจุ Power Bank ขึ้นเครืองบินได้ เป็นต้น
สารบัญเนื้อหา : Power Bank ความจุ
1. ขนาดความจุแบตเตอรี่มือถือ
2. ความรู้พื้นฐานระบบไฟฟ้า
3. Power Bank ความจุกี่mAh ชาร์จกี่ชั่วโมงเต็ม ชาร์จออกได้กี่ครั้ง
4. คำนวณ Power Bank ความจุ Wh
5. บทสรุป
“ปัจจุบันการสื่อสารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้วและสำคัญเสียด้วย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือทุกค่ายพยายามพัฒนาให้ได้คุณภาพสูงและการใช้งานที่รวดเร็ว appicationในมือถือจะมีมากตามการใช้งานแบเตอรี่ก็จะหมดไวตาม ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่่งก็คือ Power Bank หรือแบตสำรอง คนใช้มือถือทุกคนควรมีและต้องมีคุณภาพดีด้วย”
1. ขนาดความจุแบตเตอรี่มือถือ
ก่อนพิจารณาเลือกซื้อ Power Bank ความจุเท่าไหร่นั้น ชาร์จได้จำนวนกี่ครั้งหรือจะเช็คว่า Power Bank 5000mA 10000mAh 20000mAh ชาร์จได้กี่ครั้ง(ซึ่งการกำหนดค่าความจุจะการคำนวณค่าความจุของ Power Bankหรือแบตเตอรี่สำรองหน่วยเป็น mAh เป็นหลัก)
เบื้องต้นอันดับแรกที่ต้องรู้คือ ข้อมูลค่าความจุแบตเตอรี่มือถือไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆที่เราใช้อยู่ สามารถตรวจสอบได้ตามคู่มือการใช้งาน สอบถามศูนย์บริการของศูนย์นั้นๆหรือตรวจสอบตามตารางความจุของแบตเตอรี่ดังนี้
ตารางความจุของแบตเตอรี่มือถือและแท็บเล็ตแต่ละยี่ห้อรุ่น
ตัวอย่างความจุโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
แบตเตอรี่ Samsung A10s ความจุ 4000 mAh
samsung A30s ความจุแบตเตอรี่ 4000 mAh
แบตเตอรี่ OPPO A9 ความจุ 5000 mAh
แบตเตอรี่ Realme C2 ความจุ 4000 mAh
2. ความรู้พื้นฐานระบบไฟฟ้า
ก่อนจะเข้าสู่เรื่องต่างๆของ Power bank ความจุไฟฟ้าเข้าและออกเป็นอย่างไร ความจุได้กี่แอมป์หรือวิเคราะห์ว่า Power bank ชาร์จได้กี่ครั้ง กี่รอบหรือสูตรการคำนวณ จะต้องรู้หลักพื้นฐานของระบบไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วย กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าและวัตต์ ที่กล่าวดังต่อไปนี้
แรงดันไฟฟ้า(V)
แรงดันไฟฟ้า (voltage)มีหน่วยเป็นโวลท์ (volt)ใช้ตัวย่อเป็น V หมายความว่าแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจะไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้จะมาจากได้หลายแหล่งเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ต่างๆรวมถึงแบตสำรองหรือพาวเวอร์แบงค์มือถืออีกด้วย
กระแสไฟฟ้า(I)
กระแสไฟฟ้า (electrice current) มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (Ampere) หมายถึง การเคลื่อนที่หรือการไหลของอิเล็กตรอน ( การถ่ายโอนประจุไฟฟ้า ) ผ่านจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านวัสดุตัวนำ กระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่จากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังจุดศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า เราจะใช้กระแสไฟฟ้า (I) มาร่วมคำนวณเป็นหลักอีกด้วย
วัตต์(P)
กำลังไฟฟ้า (Electric Power) มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) อัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงานหรืออัตราการทำงาน ก็คือหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่บอกว่าของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แตละชนิดที่ใช้ทำงาน ซึ่งแต่ละอุปรณ์ไฟฟ้าใช้วัตต์ไม่เท่ากัน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงจะกินไฟมากกว่าที่มีวัตต์ต่ำ เช่นหลอดไฟ 50 วัตต์หมายถึงหลอไฟกินไฟ 50 วัตต์
สรุบง่ายๆว่าถ้าเทียบเป็นการไหลของน้ำ
Volt คือความดันของปั๊มน้ำยิ่งดันแรงน้ำยิ่งไหลไว
Amp คืออัตราการไหลของน้ำในท่อ
Watt คือหน่วยวัดกำลังที่ได้จากการเอาน้ำมาหมุนใบพัด (เท่ากับแรงดันของน้ำ * อัตราการไหลของน้ำในท่อ) (เวลาจะหมุนกังหันน้ำโดยการเอาน้ำฉีดกังหัน เราจะทำให้กังหันหมุนเร็วขึ้นได้สองวิธีคือ เพิ่มแรงดันของน้ำที่ฉีดใส่ หรือเพิ่มขนาดหน้าตัดท่อให้มีปริมาณน้ำที่ฉีดใส่กังกันมากขึ้น)
แหล่งที่มา http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/electric/watcir.html
สูตรการคำนวณการใช้ไฟฟ้าพื้นฐาน
P=IV ( P = วัตต์ I = กระแสไฟฟ้า V = แรงดันไฟฟ้า )
ตัวอย่างการคำนวณ Power Bank ความจุ 10000 mAh (10A) แรงดันไฟฟ้า 5V แบตเตอรี่สำรองก้อนนี้ให้พลังงาน 10X5=50 วัตต์
3. Power Bank ความจุ กี่mAh ชาร์จกี่ชั่วโมงเต็ม ชาร์จออกได้กี่ครั้ง
หลักการคำนวณ Power Bank ความจุนั้นจะเป็นแสดงเป็นหน่วย mAh (milli ampere hour) หมายความว่าแบตเตอรี่ก้อนนี้ สามารถจ่ายกระแสไฟได้กี่มิลิแอมป์ใน 1 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น Power Bankความจุ 10000 mAh แสดงว่าแบตเตอรี่ก้อนนี้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 10000 mAh ของการชาร์จ1รอบเมื่อชาร์จเต็ม
สำหรับการคำนวณเรื่อง Power Bank ความจุกี่ mAh ชาร์จกี่ชั่วโมงเต็ม ชาร์จออกได้กี่ครั้งนั้น ต้องพิจารณาเรื่องค่าของ Input และ Output ก่อน
หลักการวิเคราะห์ Power Bank อีกอย่างที่สำคัญมี 2 หัวข้อคือ
- ค่า Input ของ Power Bank
- ค่า Output ของ Power Bank
ค่า Input ของ Power Bank
เป็นช่องทางการนำกระแสไฟฟ้าเข้ามายังตัว Power Bank มีหน่วยเป็นแอมป์ (A) จะเป็นค่าที่บอกขนาดไฟกี่แอมป์ (A) ที่เข้ามาตัว Power Bank ต่อการชาร์จ1ชั่วโมง (1A=1000 mA หรือ 1 แอมป์=1000 มิลลิแอมป์) ปกติจะเขียนแสดงไว้มีทั้ง 1Aและ 2A ดังตัวอย่างนี้
Input : 5V-1.0A หมายถึงแรงดันไฟฟ้า 5 volt จะมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าตัว Power Bank ปริมาณ1A (สูงสุด) ต่อการชาร์จ 1 ชั่วโมง
Input : 5V-2.0A หมายถึงแรงดันไฟฟ้า 5volt จะมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าตัว Power Bank ปริมาณ 2A (สูงสุด) ต่อการชาร์จ 1 ชั่วโมง
แสดงว่าถ้า Power Bank ที่มีค่า Input กระแสไฟ(A) สูงกว่าก็จะสามารถชาร์จไฟได้เต็มเร็วกว่า ซึ่งปัจจุบันนี้บริษัทที่ผลิต Power Bank ความจุให้มากและชาร์จได้รวดเร็วอีกด้วย
แสดง Input: DC5V 2A กระแสไฟนำเข้ามี1ช่อง เป็น Micro Usb
ตัวอย่างการคำนวณค่า Input
ซื้อ Power Bank ความจุ10000 mAh มา1ก้อน ข้างกล่องหรือที่ตัว Power Bank เขียนว่า
Input : 5V 2.0A หมายความว่า การชาร์จจากไฟบ้านเข้าตัว Power Bank แรงดันไฟฟ้าจ่ายเข้าที่ 5V กระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปเก็บใน Power Bank สูงสุดที่ 2A หรือเท่ากับ 2000 mAh ในการชาร์จ 1 ชั่วโมง คำนวณได้คือ 10000 mA / 2000mA =10 ชั่วโมง แสดงว่า Power Bank ก้อนนี้ใช้เวลานนานถึง 10 ชั่วโมงถึงจะชาร์จไฟเต็ม100%
*แต่ในความเป็นจริงนั้นกระแสไฟที่เข้าในตัว Power Bank จะไม่เต็ม 2.0A เนื่องจากมีค่าสูญเสีย (loss)ในหลายปัจจัยต่างๆอาทิเช่น หัวชาร์จ สายชาร์จ ใส้แบตเตอรี่ไม่มีคุณภาพ
แสดง Input 2ช่องคือ สามารถนำสายแบบ Usb Microและแบบ Type-C มาชาร์จไฟเข้า
Micro Input : DC 5V 2A และ Type-C Input : DC 5V 2A
ค่า Output ของPower Bank
เป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกจาก Power Bank ไปยังอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต โดยทั่วไปจะเริ่มที่ 0.5A-1.0A – 2.1A และปัจจุบันจะถึง 3.0A แสดงถึงการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อรองรับกับสมาร์ทโฟนที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว การแสดงค่า Output บน Power Bankอย่างเช่น
Output : 5V 1.0A แสดงว่า การจ่ายไฟด้วยแรงดันไฟฟ้า 5V กระแสไฟไหลออกจากตัว Power Bank 1A (1000mAh)ไปสู่อุปกรณ์ปลายทาง ที่เป็นสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต ต่อการชาร์จ1ชั่วโมง
ค่า Output ของ Power Bank นี้เป็นส่วนที่สำคัญกว่าค่า Input เสียอีก เพราะจะมีผลต่อการเลือก Power Bank ความจุให้ได้เหมาะสมกับมือถือสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต จะได้ไม่อันตราย และยังเป็นตัวบอกว่า Power Bank ความจุกี่อแมป์ กี่ชั่วโมงชาร์จไฟเต็ม
Output : 5V 1A/5V 2.1A มีจำนวน 2 ช่องคือช่องจ่ายไฟ 1A และ 2.1A
ตัวอย่างการคำนวณOutput
ซื้อ Power Bank ความจุ10000 mAh จำนวน1ก้อน ข้างกล่องหรือที่ตัว Power Bank เขียนว่า
Output : 5V 2.1Aหมายความว่า แบตเตอ์สำรองจ่ายไฟออกแรงดัน 5V กระแสไฟออกจากตัว Power Bank ทั้งหมดไปสู่อุปกรณ์สมาร์ทโฟนสมมติว่าเป็นรุ่น samsung รุ่นA10 ความจุแบตเตอรี่ 3400mAh (คำนวณตามทฤษฏี)
- Power Bank ความจุ 20000 mAh ชาร์จไฟหมดภายในเวลา 20000 mA / 210 0mA = 9.52 ชั่วโมง
- Power Bank ความจุ 20000 mAh ชาร์จได้ 20000 mAh / 3400 mAh = 5.88ครั้ง
*แต่ในความเป็นจริงจะมีการสูญเสียพลังงานไป ด้วยหลายปัจจัยเช่นตัวแบตเตอรี่ของ Power Bank ความจุจริงไม่เต็ม สายชาร์จไม่ได้คุณภาพ สภาพอากาศที่ร้อนทำให้พลังงานลดลง และบางทีจะต้องปรับแรงดันไฟให้สูงขึ้น เพื่อจะชาร์จกับสมาร์ทโฟนได้ รวมกันสูญเสียไป 30-40% เลยทีเดียว ก็จะเหลือ Power Bank ความจุที่แท้จริงประมาณ 20000 mAh X 60% = 12000 mAh ไปเท่านั้นคำนวณใหม่ที่แท้จริงได้ดังนี้
- เวลาในการชาร์จหมดคือ 12000mA/2100mA=5.71 ชั่วโมง
- ชาร์จได้ 12000mAh/3400mAh=3.53ครั้ง
จะเห็นได้ว่าPower Bank ความจุ20000mAh จำนวนครั้งที่ชาร์จได้ลดลง ควรเลือกแบตสำรองความจุเต็ม ยี่ห้อดีมีคุณภาพรวมทั้งความปลอดภัยอีกด้วย
4. คำนวณ Power Bank ความจุ Wh
ปกติการกำหนด Power Bank ความจุนั้นจะระบุเป็นหน่วยmAh ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วตามห้อข้อที่ผ่านมา สำหรับอีกหน่วยระบุบเป็น Wh จะมีรายละเอียดดังนี้
หน่วยวัด Power Bank ความจุอีกอย่างหนึ่งเป็นการคำนวณเป็นวัตต์ต่อชั่วโมง (wh) ซึ่งหมายความว่า แบตเตอรี่สามารถจ่ายกระแสไฟวัตต์ได้เท่าไหร่ต่อชั่วโมง จะมีสูตรคำนวณได้ดังนี้
สูตรการคำนวณคือ ความจุหน่วย(mAh / 1000 x แรงดันไฟฟ้า Volt (V) = Wh
ยกตัวอย่างสมมติว่า Power Bank ความจุระบุว่า :
5V 10000 mAh จะแปลงเป็น Wh ได้ดังนี้ 10000 mAh / 1000 X 5 V = 50 Wh
5V 20000 mAh จะแปลงเป็น Wh ได้ดังนี้ 20000 mAh / 1000 X 5 V = 100 Wh
หรือจะเป็น 5V 30000 mAh จะแปลงเป็น Wh ได้ดังนี้ 32000 mAh / 1000 X 5 V = 160 Wh
ถ้ากำหนดไว้ว่า 40000 mAh คำนวณได้ 40000 mAh / 1000 X 5 V = 200 Wh
ค่าที่่แสดง Power Bank ความจุกี่ Wh เหล่านี้ยังเป็นตัวกำหนดว่าจะนำ Power Bankขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่ จะต้องได้มาตราฐานความปลอดภัยเป็นไปตามคำประกาศของ IATA
รายละเอียด ค่าความจุไฟฟ้าและจำนวนของ Power Bank ขึ้นเครื่องบิน
- ค่าความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20000 mAh หรือ น้อยกว่า 100 Wh หรือ ปริมาณลิเทียมไม่เกิน 2 กรัม สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ ไม่จำกัดจำนวนก้อน
- ค่าความจุไฟ้ฟ้าระหว่าง 20000-32000 mAh หรือ 100-160 Wh หรือ ปริมาณลิเทียม 2-8 กรัม สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ จำนวนคนละไม่เกิน 2 ก้อน
- ค่าความจุไฟ้ฟ้ามากกว่า 32000 mAh หรือ มากกว่า 160 Wh หรือ ปริมาณลิเทียมมากกว่า 8 กรัม ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ทุกกรณี
5. บทสรุป
การเลือกความจุ Power Bank อย่างไร?? กี่แอมป์??กี่ Wh?? ชาร์จเร็วแค่ไหน ขึ้นเครื่องบินได้ไหม คงจะได้ทราบกันพอสมควรแล้วแต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆอีกที่ยังไม่ได้กล่าวไว้
แต่ก็สามารถรู้ค่าค่า Input และ Output ของแบตสำรองได้แล้ว จะได้เลือกขนาดความจุของพาวเวอร์แบงค์ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ค่า Input ทำให้เราทราบว่าจะชาร์จไฟเข้าพาวเวอร์แบงค์ให้เต็มใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่ต้องเลือกหัวชาร์จและสายชาร์จที่ดีและเหมาะสมอีกด้วย
สำหรับค่า Output จะสำคัญกว่าเพราะปลายทางที่กระแสไฟออกไปคือเครื่องมือถือสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตของเราจะต้องได้มาตราฐานและความปลอดภัยดีที่สุด เพราะฉะนั้นควรเลือก Power Bankความจุเต็ม คุณภาพแบตเตอรี่ดี เลือกยี่ห้อได้มาตราฐานมีประกันด้วยยิ่งดี
FAQ : คำถามที่พบบ่อย
ถ้าแรงดัน 5V เท่ากันคำตอบว่าได้ เนื่องจากว่าตามข้อมูล Input ของ Power Bank ใช้กระแสไฟฟ้านำเข้า 1.5A แต่นำเข้ามากกว่าคือ 2.1A adaterจะจ่ายไฟได้มากกว่าไม่มีผลได้ วงจร Power Bank ก็จะรับไฟที่ 1.5A adpter จะไม่ร้อนมากและทนได้เพระจ่ายไม่เกินกำลัง แต่ถ้าเอา adapter ที่จ่ายกระแสไฟน้อยกว่ามาจ่ายจะไม่เข้าทำให้ร้อนและเสียไวด้วย
ต้องพิจารณาที่ปลายทางคือมือถือรับได้เท่าไหร่บ้าง เช่นรับได้ 1A ก็จะใช้ช่องจ่าย 1A แต่ถ้าเอาช่อง 2.1A ของ Power Bank มาชาร์จ ก็ชาร์จได้เพราะมือถือจะมีวงจรตัดไฟไม่ให้เกินลิมิตอยู่ แต่ไม่ทำให้ชาร์จเร็วขึ้น แต่ถ้ามือถือรับได้ 2.1A ใช้ช่อง 1A ของ Power Bank มาชาร์จ จะชาร์จช้าลง50% หรือใช้เวลามากขึ้นเท่าตัว